ปรึกษาคดีรัฐธรรมนูญ
คำถาม-คำตอบ การขอรับคำปรึกษาคดีรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
คำถาม : การขอรับคำปรึกษาด้านกฏหมายของประชาชน สามารถปรึกษาทางช่องทางไหนได้บ้าง
คำตอบ : การขอรับคำปรึกษาด้านกฏหมายของประชาชน สามารถติดต่อได้ 3 ช่องทางคือ
1. ติดต่อด้วยตนเอง ณ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (ห้องปรึกษาคดี ชั้น2)
2. ติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข 0 2142 5074 และหมายเลข 0 2142 5075 Call Center 1201
3. ผ่านเว็บไซต์ ภายใต้เมนู "ปรึกษาคดีรัฐธรรมนูญ" หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ "office@constitutionalcourt.or.th
คำถาม : คำว่า ประชุมคดี มีความหมายอย่างไร
มีการนิยามไว้ในกฎหมายหรือไม่ มาตราใด และหากไม่มีการประชุมคดีจะมีผลต่อคำพิพากษาหรือไม่
คำตอบ : - การประชุมคดี มีความหมายอย่างไร มีการนิยามไว้ในกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า
๑. กระบวนพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๐ วรรคสอง บัญญัติว่า “การยื่นคำร้องและเงื่อนไขการยื่นคำร้อง การพิจารณาวินิจฉัย การทำคำวินิจฉัย และการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ”
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบไต่สวน โดยให้ศาลมีอำนาจค้นหาความจริง ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ และในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ทุกประเภท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติห้ามรับฟังไว้โดยเฉพาะ ไม่ว่าการไต่สวนพยานหลักฐานนั้นจะมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากขั้นตอน วิธีการ หรือกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถ้าศาลได้ให้โอกาสแก่คู่กรณีฝ่ายอื่นในการนำสืบพยานหลักฐานหักล้างแล้ว ก็ให้ศาลรับฟังได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงตามความจริงที่เกิดขึ้นในคดีนั้น
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ในการพิจารณาของศาลจะต้องเป็นไปโดยความรวดเร็วตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ และข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ และในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หน่วยงานของรัฐหรือพนักงานสอบสวนดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้
๒. องค์คณะและการพิจารณาคดี
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ ได้นิยามความหมายของคำว่า “การพิจารณาคดี” คือ การดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมถึงการไต่สวน การประชุมปรึกษาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัย หรือการนั่งพิจารณา ในขณะที่คำว่า “กระบวนพิจารณา” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เกี่ยวกับคดีซึ่งกระทำโดยคู่กรณี หรือโดยศาล หรือตามคำสั่งศาลไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกระทำต่อศาล หรือต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือศาลกระทำต่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย รวมถึงการส่งคำร้องและเอกสารอื่น ๆ การพิจารณาคดี และการลงมติ ตลอดจนการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น และคำว่า “การนั่งพิจารณา” หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีโดยคู่กรณีมีสิทธิมาอยู่ต่อหน้าศาล
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔ ได้นิยามความหมายของคำว่า “กระบวนพิจารณา” คือ การกระทำใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และข้อกำหนดนี้เกี่ยวกับคดีซึ่งกระทำโดยคู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้องหรือโดยศาล หรือตามคำสั่งศาล ไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกระทำต่อศาล หรือต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือศาลกระทำต่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย รวมถึงการส่งคำร้องและเอกสารอื่น ๆ การพิจารณาคดี การลงมติ การดำเนินการเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย ตลอดจนการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น คำว่า “การพิจารณาคดี” หมายความว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ของศาล รวมถึงการไต่สวน การนั่งพิจารณา และการประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณา การออกคำสั่ง และการทำคำวินิจฉัย คำว่า “การไต่สวน” หมายความว่า การตรวจพยานหลักฐาน การนั่งพิจารณา การสืบพยานหลักฐาน หรือการฟังคำชี้แจงของคู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้อง คำว่า “การนั่งพิจารณา” หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดี โดยคู่กรณีมีสิทธิมาอยู่ต่อหน้าศาล และคำว่า “การประชุมปรึกษา” หมายความว่า การประชุมร่วมกันของคณะตุลาการหรือศาลเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินกระบวนพิจารณา
ดังนั้น แม้คำว่า “ประชุมคดี” ไม่ได้มีการบัญญัติคำนิยามไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า การประชุมคดี อาจหมายถึง การดำเนินการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มาประชุมร่วมกันตามกำหนดนัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรึกษาหารือ เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว การประชุมคดีจึงอาจมีความหมายเช่นเดียวกันคำว่า “การพิจารณาคดี” ในมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ และคำว่า “การประชุมปรึกษา” ในข้อ ๔ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ในการประชุมร่วมกันของคณะตุลาการหรือศาลเพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณาคดี การออกคำสั่ง การลงมติ และการทำคำวินิจฉัยหรือคำสั่งต่อไป

- หากไม่มีการประชุมคดีจะมีผลต่อคำพิพากษา (คำวินิจฉัย/คำสั่ง) หรือไม่ เห็นว่า
การทำคำวินิจฉัยหรือคำสั่ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๕ บัญญัติให้ในการวินิจฉัยคดี ตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และให้ที่ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันก่อนแล้วจึงลงมติ ดังนั้น จึงถือเป็นหน้าที่ของตุลาการทุกคนที่จะต้องร่วมนั่งพิจารณาและร่วมทำคำวินิจฉัย เว้นแต่มีเหตุถูกคัดค้านหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ความเห็นส่วนตนของตุลาการ ให้ทำโดยสังเขปและต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะตามข้อกำหนดของศาล
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๒ ยังบัญญัติให้องค์คณะของศาลในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการไม่น้อยกว่า ๗ คน และตุลาการซึ่งมิได้ร่วมในการพิจารณาในเนื้อหาคดีใด ย่อมไม่มีอำนาจในการทำคำวินิจฉัยนั้น หากมีปัญหาว่าตุลาการคนใดร่วมในการพิจารณาในเนื้อหาคดีนั้นหรือไม่ ให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยก่อนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เว้นแต่การไม่ร่วมทำคำวินิจฉัยจะทำให้มีองค์คณะเหลือไม่ถึง ๗ คน
ในการทำคำวินิจฉัยหรือคำสั่ง กฎหมายกำหนดให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องพิจารณาคดีร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการประชุมปรึกษา ดังนั้น หากไม่มีการประชุมปรึกษาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถนั่งพิจารณาและทำคำวินิจฉัยหรือคำสั่งได้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๕
คำถาม : หากเกิดข้อพิพาทเขตอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญกับศาลอื่นต้องผ่านกระบวนการชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
คำตอบ : เห็นว่า โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๘ บัญญัติให้มีคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศายุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาดังกล่าวเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขึ้นใช้บังคับ โดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า “ศาล” หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ซึ่งไม่ได้นิยามความหมายให้รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการพิจารณาในชั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (นายเสรี สุวรรณภานนท์) เสนอว่า ปัญหาอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ควรเพิ่มศาลรัฐธรรมนูญด้วย กรรมาธิการ (นางพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ชี้แจงว่า อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่มีอยู่จำกัด ศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้รับพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไป เช่นศาลอื่น ไม่ว่าจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลอื่น แต่จะมีอำนาจจำกัดจริง ๆ เพราะฉะนั้น ปัญหาที่จะมีปัญหาระหว่างอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับศาลอื่น ๆ นั้นคงจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๐ ศาล ซึ่งกำหนดไว้ให้ศาลยุติธรรมอยู่ในส่วนที่ ๒ ศาลปกครองอยู่ในส่วนที่ ๓ ศาลทหารอยู่ในส่วนที่ ๔ ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวด ๑๑ ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ” โดยไม่ปรากฏถ้อยคำว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” หรือ “ศาลอื่น” จึงเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างใด

คำถาม : หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายบางมาตราหรือยกเลิกกฎหมายบางมาตราที่คิดว่าไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาค หรือกฎหมายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากโครงสร้างลักษณะเดิมของกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปจะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : จากคำถามของท่านที่ว่า “หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายบางมาตราหรือยกเลิกกฎหมายบางมาตราที่คิดว่าไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาค
หรือกฎหมายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากโครงสร้างลักษณะเดิมของกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปจะต้องทำอย่างไร” นั้น
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ บัญญัติว่า “ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย...”
ดังนั้น การที่ประชาชนทั่วไปประสงค์ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายบางมาตราหรือยกเลิกกฎหมายบางมาตราที่คิดว่าไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาค หรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็เท่ากับเป็นการร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญจึงใช้บังคับไม่ได้นั่นเอง
ซึ่งผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ปรากฏในส่วน
คำบังคับของคำวินิจฉัยนั้น
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ การที่กฎหมายไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาค หรือกฎหมายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากโครงสร้างลักษณะเดิมของกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น ถือเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๕ รับรองในหลักการกว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” และวรรคสองว่า “ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”
นอกจากนี้ มาตรา ๒๖ ก็ยังบัญญัติถึงหลักการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล
โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย” และวรรคสองบัญญัติว่า “กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ
แก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง”
ดังนั้น เหตุผลที่ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคนั้น จึงเป็นเหตุผลที่อ้างต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
สำหรับกรณีที่ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง”
ซึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ในลักษณะว่าเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้เคยวินิจฉัยไว้
ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๖๓ ว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่หน้าที่ของรัฐอันเป็นบทบังคับ
ให้รัฐต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่เป็นเพียงแนวนโยบายให้รัฐที่รัฐพึงใช้เป็นแนวทางดำเนินการตรากฎหมาย จึงไม่ใช่กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ ได้ก็ตาม
แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็เสนอแนะไว้ในคำวินิจฉัยเดียวกันนั้นเองว่า โดยที่บทบัญญัติตามคำร้องดังกล่าว คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ นี้ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลา ๖๐ ปีแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาการทำแท้งเถื่อนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของหญิงจำนวนมาก และทำให้เกิดปัญหาสังคมจากความไม่พร้อมของหญิงและเด็กที่เกิดมาอีกมากมาย ในขณะที่ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาขึ้นมากสามารถให้บริการดูแลรักษารองรับการตัดสินใจใช้สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิงในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้อย่างสะดวกปลอดภัยแล้ว ประกอบกับยังไม่ได้มีมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและเหมาะสม ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้ข้อเสนอแนะว่าประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องการทำแท้งสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
ดังนั้น เหตุผลที่ว่า กฎหมายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่ใช่เหตุผลโดยตรงที่ถือเป็นเหตุให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือตีความว่ากฎหมายใดมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยเหตุดังกล่าวได้หรือไม่ ก็จะต้องเป็นกรณีที่ประชาชนผู้นั้นได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วจากการบังคับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อ้างดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหลักการในการใช้อำนาจขององค์กรตุลาการ ได้แก่ศาลทั้งหลายซึ่งรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญด้วยนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่มี
ผู้มาขออำนาจศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีข้อโต้แย้ง ข้อพิพาท ในเรื่องที่การยุติปัญหานั้นจะต้อง
มีคำพิพากษาหรือคำสั่งตลอดจนคำบังคับจากศาลนั้น หรือเป็นกรณีที่จะต้องอาศัยอำนาจศาลรับรองสถานะหรือสิทธิให้ ซึ่งต้องเป็นข้อโต้แย้ง ข้อพิพาท หรือกรณีปัญหาที่ได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงดำรงอยู่ อันเป็นเหตุให้ผู้มาขออำนาจศาลคุ้มครองนั้นได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรือถูกกระทบสิทธิหรือไม่ได้รับการถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ตามสถานะของตนอยู่ต่อไป ตัวอย่างเช่น
กรณีผิดสัญญาระหว่างบุคคลสองฝ่าย หรือถูกกระทำความผิดทางอาญาหรือการละเมิดทางแพ่งจากบุคคลอื่น
การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็อยู่บนหลักการเดียวกันนั่นเอง คือจะต้องเป็นกรณีที่มีปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากการบังคับใช้กฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหานั้นได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลผู้โต้แย้งนั้นแล้ว แต่มิใช่เป็นลักษณะการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเชิงการ “ตีความ” กฎหมาย โดยที่ผู้ยื่นคำร้องนั้นไม่ได้ถูกบังคับด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นในชั้นศาล หรือยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยผลของกฎหมายนั้นเกิดขึ้น
ในกรณีของบุคคลหรือประชาชนทั่วไปหากประสงค์จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็จะมีสามช่องทางดังต่อไปนี้
(๑) โดยผ่านกระบวนการศาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ ได้แก่กรณีที่บุคคลผู้เป็นคู่ความหรือคู่กรณี (โจทก์ จำเลย ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ร้อง ผู้ร้องสอด ผู้ร้องขัดทรัพย์ ฯลฯ) ในศาล ซึ่งได้แก่ศาลยุติธรรม (ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ) ศาลปกครอง หรือศาลทหาร เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีของตนนั้น ต้องด้วยมาตรา ๕ คือมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็ชอบที่จะเสนอคำโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นของตน
ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในการนี้ศาลที่ดำเนินคดีนั้นอยู่ก็จะดำเนินการพิจารณาต่อไป แต่จะรอการพิพากษาคดีไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปัญหาที่โต้แย้งนั้น
(๒) โดยผ่านกระบวนการผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ (๑) และมาตรา ๒๓๑ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๘ ได้แก่ กรณีที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ โดยเห็นว่าการละเมิดนั้นเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้พิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนั้น ในกรณีนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องพิจารณาว่าจะยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยพร้อมด้วยความเห็นภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา ๖๐ วันข้างต้น
(๓) การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ในกรณีที่ได้ดำเนินการตามข้อ (๒) แล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งต่อประชาชนผู้ยื่นคำร้องว่าพิจารณาแล้วไม่รับเรื่องไว้พิจารณา หรือให้ยุติเรื่อง
จึงไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในกำหนดเวลา ๖๐ วันดังกล่าว ประชาชนผู้ถูกละเมิดดังกล่าวก็มีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในกำหนดเวลา ๙๐ วัน เช่นเดียวกับการยื่นคำร้องกรณีที่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิผ่านช่องทางใดก็จะต้องปรากฏว่าประชาชน
ผู้จะโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วจากการบังคับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น เช่น ถูกดำเนินคดีในศาลในฐานะที่เป็นจำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดี ด้วยกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรืออาจเป็นฝ่ายโจทก์ ผู้ฟ้องคดี หรือผู้ร้องสอด แต่ก็ได้รับผลกระทบอันไม่เป็นคุณจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน หรือในกรณีที่มิได้เป็นคดีความในศาล แต่การที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนั้นมีผลใช้บังคับอยู่ ก็ทำให้ตนถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ก็สามารถใช้กระบวนการยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ หรือในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่เสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ซึ่งหากเป็นกรณีหลังนี้ ผู้ร้องก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าการที่ตนถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวอ้างนั้นอย่างไร
ดังนั้น ประชาชนสามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
บางมาตราที่คิดว่าไม่สอดคล้องและขัดกับหลักการของสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคนั้นขัดหรือแย้ง
ต่อรัฐธรรมนูญได้ ผ่านทางช่องทางการโต้แย้งในชั้นศาลกรณีที่บุคคลนั้นเป็นคู่ความหรือคู่กรณีในศาล
หรือโต้แย้งผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเป็นผลมาจากบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายนั้น และหากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวด้วยตนเองได้ แต่การใช้สิทธิดังกล่าวนั้น ต้องมิใช่การร้องขอให้ศาลตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยที่ผู้นั้นมิได้ถูกบังคับตามกฎหมายนั้น
หรือมิได้ถูกละเมิดหรือสิทธิเสรีภาพโดยตรงจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น
คำถาม : เงื่อนไขและวิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ และมาตรา ๒๑๓
คำตอบ : ๑. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ ได้บัญญัติในกรณีที่คู่ความหรือคู่กรณีในศาลประสงค์จะขอให้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: ศาลยุติธรรม/ ศาลปกครอง/ ศาลทหาร
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน และไม่ว่าคดีนั้นจะอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลใดก็ตาม
๒. ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความหรือคู่กรณีในคดีนั้นโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลเช่นว่านั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
๓. ศาลที่ส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้ แต่ต้องให้รอการพิพากษาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
หมายเหตุ
สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย หมายถึง กฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น

๒. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
โดยเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงาน
ซึ่งใช้อำนาจรัฐ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้/ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
๒. คำร้องต้องระบุการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรง
ให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด และละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร
๓. บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
๔. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
๕. กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง (ยุติเรื่อง) หรือไม่ยื่นคำร้องภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา ๔๖ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

๓. วิธีการการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ กำหนดให้ คำร้องที่จะยื่นต่อศาลต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) เรื่องหรือการกระทำทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ต้องขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) มาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง

ในการยื่นคำร้องดังกล่าว นอกจากต้นฉบับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบแล้ว ให้คู่กรณี
จัดทำสำเนาจำนวน ๙ ชุด ยื่นต่อศาล คำร้องใดมีรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องนั้นให้ถูกต้อง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ผู้ร้องจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบฉันทะให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ โดยผู้รับมอบฉันทะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

๔. ช่องทางในการยื่นคำร้องต่อศาล ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗ มีดังนี้
(๑) ยื่นคำร้องต่อศาลด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
(๒) ส่งทางไปรษณีย์
(๓) ส่งทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทอื่นที่ศาลกำหนด

ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้อง
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง
ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th หัวข้อ
“ยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ศึกษารายละเอียด
เพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/e_Filling/Manual/Filing%20Manual.pdf
นอกจากนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=247
หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 02-142-5074
คำถาม : เงื่อนไขและวิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
คำตอบ : ๑. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
โดยเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงาน
ซึ่งใช้อำนาจรัฐ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้/ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
๒. คำร้องต้องระบุการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรง
ให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด และละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร
๓. บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
๔. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
๕. กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง (ยุติเรื่อง) หรือไม่ยื่นคำร้องภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา ๔๖ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
๒. วิธีการการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ กำหนดให้ คำร้องที่จะยื่นต่อศาลต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) เรื่องหรือการกระทำทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ต้องขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) มาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง

ในการยื่นคำร้องดังกล่าว นอกจากต้นฉบับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบแล้ว ให้คู่กรณี
จัดทำสำเนาจำนวน ๙ ชุด ยื่นต่อศาล คำร้องใดมีรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องนั้นให้ถูกต้อง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ผู้ร้องจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบฉันทะให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ โดยผู้รับมอบฉันทะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

๓. ช่องทางในการยื่นคำร้องต่อศาล ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗ มีดังนี้
(๑) ยื่นคำร้องต่อศาลด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
(๒) ส่งทางไปรษณีย์
(๓) ส่งทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทอื่นที่ศาลกำหนด

ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้อง
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง
ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th หัวข้อ
“ยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ศึกษารายละเอียด
เพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/e_Filling/Manual/Filing%20Manual.pdf
นอกจากนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=247
หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 02-142-5074
คำถาม : หน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คำตอบ : ๑. การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้ง
ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๒ บัญญัติว่า
“ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา ๕ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษาของศาล
อันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา ๕ นั้น เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าว
หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ”
การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๒ บัญญัติไว้ จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร และไม่ว่าคดีนั้นจะอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลใดก็ตาม หากศาลเห็นเองหรือคู่ความ (โจทก์หรือจำเลย) หรือคู่กรณี
(ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีนั้นโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับ
แก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลดังกล่าวผ่านทางสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง หรือกรมพระธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ซึ่งกรณีนี้ศาลที่ส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้ แต่ต้องให้รอการพิพากษาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าว
หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ
สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย หมายถึงกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น

การใช้สิทธิต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับกับคดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง : ศาลยุติธรรม / ศาลปกครอง / ศาลทหาร
หลักเกณฑ์และวิธีการ :
(๑) จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน และไม่ว่าคดีนั้นจะอยู่ระหว่าง
การพิจารณาในศาลใดก็ตาม
(๒) ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความหรือคู่กรณีในคดีนั้นโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ
บทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลเช่นว่านั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
(๓) ศาลที่ส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้
แต่ต้องให้รอการพิพากษาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
๒. การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑))
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๑ (๑) บัญญัติว่า
“ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๓๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นว่ามีกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ”
การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอให้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ไม่จำเป็นต้องเป็นคดีในศาลก่อน อย่างไรก็ดี การเสนอเรื่องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยผู้ตรวจการแผ่นดินจะเป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ วิธีการในการดำเนินการดังกล่าว
เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้น หมายถึง กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น
การใช้สิทธิต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง : ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ :
(๑) ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคดีที่เกิดขึ้นในศาลก่อน
(๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
คำถาม : เงื่อนไขและวิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
๑. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
โดยเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงาน
ซึ่งใช้อำนาจรัฐ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้/ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
๒. คำร้องต้องระบุการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรง
ให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด และละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร
๓. บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
๔. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
๕. กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง (ยุติเรื่อง) หรือไม่ยื่นคำร้องภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา ๔๖ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
๒. วิธีการการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ กำหนดให้ คำร้องที่จะยื่นต่อศาลต้องทำเป็นหนังสือใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบ
ที่กำหนดในข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) เรื่องหรือการกระทำทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ต้องขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) มาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง

ในการยื่นคำร้องดังกล่าว นอกจากต้นฉบับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบแล้ว ให้คู่กรณี
จัดทำสำเนาจำนวน ๙ ชุด ยื่นต่อศาล คำร้องใดมีรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องนั้นให้ถูกต้อง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ผู้ร้องจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบฉันทะให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ โดยผู้รับมอบฉันทะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว
๓. ช่องทางในการยื่นคำร้องต่อศาลตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗
มีดังนี้
(๑) ยื่นคำร้องต่อศาลด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
(๒) ส่งทางไปรษณีย์
(๓) ส่งทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทอื่นที่ศาลกำหนด

ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้อง
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง
ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th หัวข้อ
“ยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ศึกษารายละเอียด
เพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/e_Filling/Manual/Filing%20Manual.pdf
นอกจากนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=247
หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 02-142-5074
คำถาม : คำสั่งและคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ มีความหมายเหมือนกันหรือไม่ และคดีที่มีปัญหาวินิจฉัยต้องทำเป็นคำวินิจฉัยหรือไม่
คำตอบ : คำสั่งและคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญเป็นผลจากการทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดี
ของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ โดยการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล
ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ ศาลรัฐธรรมนูญจะดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วมีคำสั่งและคำวินิจฉัย ดังนี้
๑. การมีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๙ กำหนดให้การพิจารณาว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ ศาลจะแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า ๓ คน เป็นผู้พิจารณาได้ และเมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอให้
ศาลพิจารณาวินิจฉัย ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญส่งเรื่องให้คณะตุลาการดังกล่าวภายใน ๒ วันนับแต่วันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องตามข้อกำหนดของศาล และให้คณะตุลาการดังกล่าวมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งดังกล่าวให้ถือว่าเป็นคำสั่งของศาล โดยในกรณีที่คณะตุลาการมีความเห็นไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ให้เสนอศาลพิจารณาภายใน ๕ วันดังกล่าว และให้ศาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะตุลาการดังกล่าว หากศาลเห็นพ้องด้วยให้จัดทำเป็นคำสั่งของศาล หากศาลไม่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะตุลาการให้ดำเนินการตามความเห็นของศาล คำสั่งของคณะตุลาการที่สั่งรับหรือไม่รับคำร้องให้ถือเสียงข้างมาก ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งคณะตุลาการ ให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ ภายใน ๕ วันนับแต่วันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๑ กำหนดให้คำร้องร้องที่ได้ยื่นต่อศาลไว้แล้ว ก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยหรือมีคำสั่ง ถ้าผู้ร้องตาย หรือมีการขอถอนคำร้อง หรือไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดีนั้นก็ได้ เว้นแต่การพิจารณาคดีต่อไปจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
คำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือจำหน่ายคดี ต้องประกอบด้วย ความเป็นมาโดยย่อของคดี เหตุผลในการมีคำสั่ง ความเห็นประกอบ และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง และเมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ให้แจ้งคู่กรณีทราบ พร้อมปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการศาลไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ทั้งนี้ คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้มีผลในวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำสั่ง
ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๗

นอกจากนี้ ศาลอาจมีคำสั่งระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ เช่น คำสั่งเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้หน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานสอบสวน ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้ ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม หรือคำสั่งให้คู่กรณีที่ดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่เห็นสมควรได้
ตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง เป็นต้น
๒. การมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑
หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าสามารถมีคำวินิจฉัยได้ จะนัดประชุมหารือเพื่อลงมติและจัดทำคำวินิจฉัย
โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีดังนี้
(๑) ศาลจะกำหนดประเด็นและลำดับประเด็นที่จะพิจารณาวินิจฉัย แต่ไม่ตัดอำนาจศาล
ที่จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมประเด็นหรือลำดับประเด็นที่ได้กำหนดหรือลำดับไว้เดิม โดยตุลาการทุกคนเว้นแต่
ตุลาการที่ได้รับอนุญาตให้ถอนตัวหรือต้องถอนตัวเพราะถูกคัดค้าน ต้องทำความเห็นส่วนตนตามประเด็นและตามลำดับประเด็นที่ศาลได้กำหนดหรือลำดับไว้ และเมื่อศาลรับเรื่องใดไว้พิจารณาแล้ว ตุลาการผู้ใด
จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยโดยอ้างว่าเรื่องนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลมิได้ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๗)
(๒) องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย
ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า ๗ คน (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ วรรคหนึ่ง)
(๓) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ วรรคสอง) เช่น กรณีการวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๒ วรรคหนึ่ง จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๓)
(๔) ในการวินิจฉัยคดี ตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และให้ที่ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันก่อนแล้วจึงลงมติ โดยความเห็นส่วนตนของตุลาการให้ทำโดยสังเขปและต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ในการทำคำวินิจฉัยของศาล องค์คณะอาจมอบหมายให้ตุลาการคนหนึ่งคนใดเป็นผู้จัดทำคำวินิจฉัย
ตามมติของศาลก็ได้ และคำวินิจฉัยของศาลให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
มีคำวินิจฉัย (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๕)
(๕) คำวินิจฉัยมีผลในวันอ่าน ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคดีที่มีคู่กรณี ถ้าคู่กรณีฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย แล้วแต่กรณีทราบนั้นโดยชอบแล้วไม่มา ให้ศาลบันทึกไว้และให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นได้อ่านโดยชอบแล้ว ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคดีที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องหรือ
ผู้มีหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย และให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่านคำวินิจฉัย (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๖)
(๖) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ วรรคสี่)
(๗) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษา
ของศาลอันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา ๕ นั้น เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าวหรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒)
(๘) สาระสำคัญของคำวินิจฉัยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้ออ้างและคำขอตามที่ปรากฏ
ในคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย ข้อโต้แย้งในคำชี้แจงข้อกล่าวหา ประเด็นแห่งคดี
สรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในแต่ละประเด็น และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง รวมทั้งผลแห่งคำวินิจฉัย นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลต้องลงลายมือชื่อของ
ตุลาการที่วินิจฉัย ถ้าตุลาการคนใดมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้องค์คณะนั้นมอบหมายให้ตุลาการคนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นองค์คณะจดแจ้งเหตุดังกล่าวแล้วติดรวมไว้กับคำวินิจฉัย (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๓)
คำถาม : กรณีการพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบใด
คำตอบ : ศาลรัฐธรรมนูญมีวิธีในการพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา
ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 และมีผลบังคับใช้
นับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ คือ
การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ องค์ประกอบของศาล การดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดองค์คณะ วิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ
โดยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 กำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนโดยให้ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงและในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ทุกประเภท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติห้ามรับฟังไว้โดยเฉพาะ และไม่เคร่งครัดต่อบทตัดพยานหลักฐานหรือข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนในเชิงกระบวนการที่ไม่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงตามความจริงที่เกิดขึ้นในคดี ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับที่ใช้ในศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนศาลชำนัญพิเศษบางศาลด้วย ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดเพื่อมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้หน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานสอบสวน ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาก็ได้
นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ก็กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีกระบวนการพิจารณาคดีตามหลักการอย่างศาลทั่วไป เช่น การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการที่อาจมีส่วนได้เสียอาจขอถอนตัวจากการพิจารณาก็ได้ มีบทว่าด้วยการ “ละเมิดอำนาจศาล” ที่ศาลอาจจะตักเตือน ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือแม้แต่สั่งลงโทษทางอาญา โดยมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (การลงโทษทางอาญานั้น ต้องกระทำโดยมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ กล่าวคือตุลาการเต็มองค์คณะ 9 คน จะต้องได้เสียง 6 คนขึ้นไป)